ยินดีต้อนรับเพื่อนทุกคน

วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วันอาสาฬหบูชา



ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี จะตรงกับวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกหนึ่งวัน นั่นคือ "วันอาสาฬหบูชา" ซึ่งในปี พ.ศ.2554 นี้ วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันที่ 15 กรกฎาคม และวันเข้าพรรษา ตรงกับวันที่ 16 กรกฎาคม

ทั้งนี้ คำว่า "อาสาฬหบูชา" สามารถอ่านได้ 2 แบบ คือ อา-สาน-หะ-บู-ชา หรือ อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา ซึ่งจะประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ อาสาฬห ที่แปลว่า เดือน 8 ทางจันทรคติ กับคำว่า บูชา ที่แปลว่า การบูชา เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน 8 หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน 8

วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานาม และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จน พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 45 ปี
ทั้งนี้ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปัจจวัคคีย์ทั้ง 5 เรียกว่า "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม ซึ่งหลังจากปฐมเทศนา หรือเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงจบลง พระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีที่เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" พระโกณฑัญญะจึงได้เป็น พระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมา พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้อุปสมบทตามลำดับ

สำหรับใจความสำคัญของการปฐมเทศนา มีหลักธรรมสำคัญ 2 ประการ คือ
1. มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลางๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด 2 อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ

การหมกมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่าเป็นการหลงเพลิดเพลินหมกมุ่นในกามสุข หรือกามสุขัลลิกานุโยค

การสร้างความลำบากแก่ตน ดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

ดังนั้น เพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ 8 ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ 8 ได้แก่
1. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง

2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม

3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต

4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต

5. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต

6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี

7. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด

8. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน

2. อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่
1. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้ กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด

2. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆ

3. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา

4. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห้งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ 8 ประการดังกล่าวข้างต้น


กิจกรรมวันอาสาฬหบูชา

พิธีกรรมโดยทั่วไปที่นิยมกระทำในวันนี้ คือ การทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนา และสวดมนต์ ในตอนค่ำก็จะมีการเวียนเทียนที่เป็นการสืบทอดประเพณีอันดีงามของไทยเรา
ดังนั้น พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรเข้าวัด เพื่อน้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อีกทั้งยังเป็นการช่วยชะล้างจิตใจให้ปลอดโปร่งผ่องใส จะได้มีร่างกายและจิตใจที่พร้อมสำหรับการดำเนินชีวิตในยุคที่ค่าครองชีพถีบตัวสูงขึ้นอย่างนี้...


วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ


1 กรกฎาคม วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ

ลูกเสือได้กำเนิดครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐โดยท่านลอร์ดบาเดน เพาเวลล์ กิจการลูกเสือในยุคแรกมีจุดประสงค์เพื่อเตรียมคนไว้เป็นทหาร หลายประเทศที่ไม่มีพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร จึงได้จัดให้มีลูกเสืออย่างประเทศอังกฤษบ้าง หลังจากนั้นไม่นานกิจการลูกเสือก็ได้แพร่หลายเข้าไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา

ในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ลอร์ด บาเดน เพาเวลล์ ได้แต่งหนังสือคู่มือการฝึกอบรมลูกเสือขึ้นมาเล่มหนึ่ง มีชื่อว่า Scouting For Boys และคำว่า \"Scout\" จึงใช้เป็นคำเรียกผู้ที่เป็นลูกเสือซึ่งมีความหมายมาจาก

S ย่อมาจาก Sincerity แปลว่า ความจริงใจ
C ย่อมาจาก Courtesy แปลว่า ความสุภาพอ่อนโยน
O ย่อมาจาก Obedience แปลว่า การเชื่อฟัง
U ย่อมาจาก Unity แปลว่า ความเป็นใจเดียวกัน
T ย่อมาจาก Thrifty แปลว่า ความประหยัด

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มาตราตัวสะกด

ตัวสะกด หมายถึง พยัญชนะที่ประกอบอยู่ท้ายสระ และมีเสียงประสมเข้ากับสระใช้บังคับเสียงท้ายคำ บางมาตราใช้ตัวสะกดตรงตามมาตรา บางมาตราใช้ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา มีทั้งหมด 9 มาตรา ได้แก่ แม่ ก กา แม่กง แม่กน แม่กม แม่กก แม่กด แม่กบ แม่เกย และแม่เกอว

มาตราตัวสะกดที่ใช้ตัวสะกดตัวเดียวตรงตามมาตรามี 4 มาตรา
มาตราแม่ กง คือ คำที่มีตัว ง สะกด เช่น โรง แห้ง ตรง
แม่กง
“ง” เมื่ออยู่ท้ายคำ (พยางค์) เป็นตัวสะกดของคำ โคนลิ้นจะกระดกแตะเพดานอ่อน กักลมไว้เฉยๆ ไม่ปล่อยออก ออกเสียงเป็น “เงอะ”
มาตราแม่ กม คือ คำที่มีตัว ม สะกด เช่น ลม สาม ชุ่ม
แม่กม
“ม” เมื่ออยู่ท้ายพยางค์เป็นตัวสะกดของคำ ริมฝีปากทั้งสองจะกักลมไว้ เพดานอ่อนหย่อนลงมาหรือลิ้นไก่เปิด ปล่อยให้ลมผ่านออกไปทางช่องจมูก ออกเสียง “เมอะ”
มาตราแม่ เกย คือ คำที่มีตัว ย สะกด เช่น ยาย สวย เขย
มาตราแม่ เกอว คือ คำที่มีตัว ว สะกด เช่น ขาว เปรี้ยว เหว

มาตราตัวสะกดที่มีตัวสะกดในมาตราเดียวกันหลายตัวเพราะออกเสียงเหมือนตัวสะกดเดียวกัน เรียกว่า ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา มี 4 มาตรา คือ

บทอาขยาน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๒๕ ให้นิยามคำ "อาขยาน" ไว้ว่า อาขยาน (-ขะหฺยาน, -ขะยาน) น. บทท่องจำ; การเล่า, การบอก; การสวด; เรื่อง, นิทาน. (ส.; ป. อกฺขาน)
ฉะนั้น คำว่า อาขยาน อ่านออกเสียงได้สองอย่างคือ อา-ขะ-หยาน หรือ อา-ขะ-ยาน
ในอดีตการท่องอาขยานเป็นการท่องจำบทร้อยกรองที่ถือว่าไพเราะ โดยครูจะคัดเลือกมาให้นักเรียนท่องจำ มีความสั้นยาวตามความสามารถในการท่องจำของนักเรียนตามระดับชั้น การท่องบทอาขยานในอดีต มิใช่การท่องแบบนกแก้วนกขุนทอง แต่เป็นการท่องเพื่อให้เกิดการจำและรับรู้ เกิดทักษะทางภาษาไทยทั้งทางด้านการใช้คำ หรือ การสัมผัสคำ และเสริมให้ผู้เรียนเห็นคุณค่า เมื่ออ่านบทอาขยานเด็กจะต้องใช้ดุลยพินิจในการสืบเสาะ สร้างมุมมองที่หลากหลายเพื่อเสพอรรถรสแห่งวรรณกรรมมากกว่าการท่องจำตลอดจนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
การท่องบทอาขยานเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความซาบซึ้ง เห็นคุณค่าและความงดงามของภาษา ได้แนวทางในการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน ถ้าเราเปิดโอกาสให้เด็กๆ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ อภิปราย สรุปผล เป็นการช่วยให้เด็กได้จุดประกายความคิดของตนออกไปได้กว้างไกลโดยไม่หลงทิศทางเพราะมีคำถามนำ โ รงเรียนบ้านแม่หม้อมีนโยบายส่งเสริมการอ่านภาษาไทย โดยมอบหมายให้นายจาตุรันตร์ มณี เป็นผู้รับผิดชอบ หลังจากได้ประชุมกับคณะกรรมการฝ่ายวิชาการแล้วมีมติให้จัดทำโครงการส่งเสริมการท่องบทอาขยาน ในระดับชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น จึงได้นำเอาบทอาขยานที่ทางกระทรวงศึกษาธิการกำหนด(บทอาขยานบทหลัก บทรอง) ของแต่ละระดับชั้นมานำเสนอ เพื่อให้นักเรียนที่สนใจได้มีโอกาสได้เรียนรู้บทอาขยานในระดับชั้นอื่น ๆ ด้วย สนใจคลิกเลือกได้จากระดับชั้นต่าง ๆ

บทอาขยาน ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1

โคลงโลกนิติ

โคลงโลกนิติ พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร เป็นวรรณกรรมที่มีคุณค่า เยาวชน นักเรียน และบุคคลทั่วไปควรได้ศึกษาเพื่อนำแนวความคิด ข้อเตือนใจจากภาษิตคำสอนไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิต
โคลงโลกนิติ นี้ กรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ จัดพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2447 สำหรับใช้เป็นหนังสือแบบเรียน

ชนิดของคำ

การเลือก ใช้คำให้ถูกต้องตามชนิดและหน้าที่จะช่วยให้สื่อสารทำความเข้าใจได้ตรงตามความต้องการและรวดเร็ว คำในภาษาไทยแบ่งออกเป็น ๗ ชนิด คือ
๑.คำนาม
๒.คำสรรพนาม
๓.คำกริยา
๔.คำวิเศษณ์
๕.คำบุพบท
๖.คำสันธาน
๗.คำอุทาน

คำคม คำคมกวนๆ คำคมความรัก

บทความข่าวแปลกๆ